วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

 บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารณ์ผู้สอน อาจารณ์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30 - 12.20
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20

***********************************************



**********************************************


*******************************************

ความรู้ที่ได้รับ
     1. แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กเน้นที่การจัดประสบการณ์ทางทักษะภาษาเพื่อให้เด็กได้รู้จากความหมาย การประสมคำ และเป็นประโยค
     2.ธรรมชาติของเด็ก คือการสนใจสิ่งรอบๆตัว ช่างสงสัย มีความคิดจินตนาการ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ และเลียนแบบคนใกล้ตัว
     3.การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ควรสอนแบบบูรณาการ สอนในสิ่งที่เข้าสนใจ สอดแทรกชีวิตประจำวันเสริมในสิ่งที่รู้ให้เพิ่มมากขึ้นและถูกต้อง

ทักษะทางภาษา

-------------------------------------------------


----------------------------------------------------


วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารณ์ผู้สอน อาจารณ์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 12  กรกฏาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30 - 12.20
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20

วันนี้กลุ่มดิฉันออกไปรายงานกลุ่มเรื่องวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
     การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่แล้วจะเรียนรู้จากพ่อแม่และคนรอบข้างสื่อการเรียนต่างๆก็มีส่วนในการเรียนรู้เช่นกัน





วาดรูปที่เราชอบมากที่สุดในตอนเป็นเด็ก

   ตุ๊กตากล้วยหอมนี้เป็นสิ่งที่ฉันชอบมาตั้งแต่เด็กแม่เป็นคนซื้อให้ตุ๊กตามีมากมายแต่เราเลือกที่จะนอนกอดกับเจ้ากล้วยหอมสองตัวนี้เพราะมันน่ารักแปลกดีในสมัยนั้น  ปัจจุบันนี้ไม่อยู่แล้วน้ำท่วมบ้านมันอยู่ในน้ำนานจัดก็สภาพไม่น่าเก็บมาเลย

สิ่งที่ได้รับในการเรียน
  องค์ประกอบของภาษามีอยู่4ประเภทแต่ล่ะประเภทก็จะแบ่งตามหน้าที่ของหลักการใช้ภาษา
   - ระบบเสียง
   - ความหมายของภาษาและคำศัพท์
   - ระบบไวยากรณ์
   - ระบบการนำไปใช้
แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมก็จะมี สกินเนอร์ กับ วสัน กล่าวว่าภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤตกรรมโดยสิ่งแวดล้อมเด็กจะสังเกตุและลอกเรียนแบบพฤติกรรมจากคนรอบข้าง
แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจย์กับไวกอสกี เป็นผู้ศึกษาด้านนี้
แนวคิดกลุ่มความพร้อมด้านร่างกาย  กีเชลล์ เป็นผู้ศึกษา
แนวคิดกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด  ช็อคกี้ เชื่อว่าการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ





บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารณ์ผู้สอน อาจารณ์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 5 กรกฏาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30 - 12.20
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20




.....ไม่ได้มาเรียน ....

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารณ์ผู้สอน อาจารณ์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30 - 12.20
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20

    วันนี้มีกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัย


โดนทำโทษ ! นอนอาบแดด







วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารณ์ผู้สอน อาจารณ์ตฤณ แจ่มถิน
วันทีี่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30 - 12.20
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน 12.20

ภาษาหมายถึง การสื่อความหมาย ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก
ความสำคัญของภาษา  ภาาาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการคิดติดต่อสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน  ภาษาช่วยจรรดลงใจ
ทักษะทางภาษาประกอบด้วย การฟัง พูด อ่าน เขียน
ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจย์
     การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 ประการคือ
   1.การดูดซึม เป็นกระบวนการที่เด็กได้รู้ และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ เช่น สัตว์มีปีกบินได้เรียกว่านก
   2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ เป็นกระบวนการที่เกิดความควบคู่ไปกับการดูดซึมโดยปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดการสมดุลกลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
 พัฒนาการภาษาของเด็ก
เด็กจะค่อยๆสร้างความรุ้และเข้าใจเป็นลำดับขั้นครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้องควรของว่านั้นเป็นกระบวนการเรียนภาษาของเด็ก
จิตวิทยาการเรียนรู้
1.ความพร้อม วัดความสามรถและประสบการณ์เดิมของเด็ก
2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล อิทธิพลทางพันธุกรรมและจากสิ่งแวดล้อม
3.การจำ การเห็นบ่อยๆ การได้สัมผัส
4.การให้แรงเสริม ทางบวกและทางลบ


วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 08:30-12:20

ทำงานกลุ่มเรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นมายแม็บ


การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
    เป็นการวัดประสบการณ์โดยใช้วัสดุอุปกรณ์มาเป็นสื่อในการวัดประสบการณ์ของเด็กรวมถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวของเด็กด้วย
    บอกความหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยคือการดำเนินงาน การวางแผน การเรียนรู้ทางภาษาของเด็กโดยการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาฟัง พูด อ่าน เขียน ให้เด็กได้แสดงออกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าโดยมีผู้ใหญ่ส่งเสริมและชี้แนะ